บุคคลผู้เลื่อมใส ในพระพุทธศาสนาเข้าอุปสมบทเป็น พระภิกษุสงฆ์ หรือ พรรพชา เป็นสามเณร
การอุปสมบท เป็น ภิกษุ มี 3 แบบ ได้แก่
1.
เอหิภิกขุอุปสัมปทา วิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าประทานด้วยพระองค์เองด้วยการเปล่งพระวาจาว่า ท่านจงเป็นภิกษุ มาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์โดยชอบเถิด
2.
ติสรณคมนูปสัมปทา หรือสรณคมนูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยถึงไตรสรณะ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้พระสาวก ทำในยุคต้นพุทธกาลปัจจุบันใช้ บรรพชา สามเณร
3. ญัตติจตุตถกรรมวาจา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำ ในเมื่อ คณะสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ขึ้นแล้ว และเป็นวิธีที่ใช้สืบมาจนทุกวันนี้ โดยจะมีการสวดญัตติขึ้นก่อน 1 ครั้ง และ สวดอนุสาวนา 3 ครั้ง เมื่อรวมกันจึงเรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม แปลว่า กรรมมีญัตติเป็นที่ 4 หมายความว่า กิจกรรมของสงฆ์ที่ทำร่วมกันโดยต้องทำการสวดญัตติขึ้นก่อน แล้วตามด้วยอนุสาวนาอีก 3 ครั้ง
สงฆ์ หรือ สงฺฆ ใน ภาษาบาลี แปลว่า หมู่
เมื่อใช้ควบกับคำว่า พระ เป็น พระสงฆ์ ซึ่งมีความหมายว่า ภิกษุ ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปมาประชุมเพื่อทำสังฆกรรมร่วมกันจึงเรียกว่า สงฆ์ พระสงฆ์ ในทางพระพุทธศาสนามี 2 ประเภทคือสมมุติสงฆ์และอริยสงฆ์
1. สมมุติสงฆ์ หมายถึง ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปได้รับการ อุปสมบท ตามพุทธานุญาตไว้ โดยมีภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปมาร่วมสังฆกรรม เรียกว่า สงฆ์ เนื่องจากคำว่า สงฆ์ แปลว่าหมู่ จึงเรียกหมู่พระภิกษุว่า ภิกษุสงฆ์ และ พระภิกษุสงฆ์จัดเป็นพระสงฆ์โดยสมมุติ จึงเรียกว่า สมมุติสงฆ์
2.. อริยสงฆ์ หรือ พระสงฆ์ฝ่ายธรรม หมายถึงพระอริยบุคคล 4 ประเภท ได้แก่
1. พระโสดาบัน
2. พระสกทาคามี
3. พระอนาคามี
4. พระอรหันต์
พระสงฆ์สาวกที่กล่าวถึงในบทสวด สังฆคุณ 9 บท ดังนี้
- สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว
- อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง ไม่มีข้อลี้ลับที่จะปิดบังอำพราง
- ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง ถูกต้องตามระเบียบแบบแผน
- สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติสมควร
- อาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
- ปาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ
- ทกฺขิเณยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน ได้รับของบริจาคทาน
- อญฺชลิกรณีโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้
- อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส แปลว่า เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า
พระสงฆ์สาวกที่กล่าวถึงในบทสังฆคุณ 9 บทนี้ ท่านหมายถึงพระอริยบุคคล 4 คู่ 8 บุคคล ที่กล่าวว่า "ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ" ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนตั้งอยู่ในมรรคผลทั้งสิ้น ได้แก่
|